ReadyPlanet.com


ภาษีซื้อ ต้องห้ามหรือไม่ ?


"ภาษีซื้อ" หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จ่ายหรือพึงต้องจ่าย ตามหลักฐานต้นฉบับใบกำกับภาษี เนื่องจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่น หรือเนื่องจากการนำเข้า หรือเนื่องจากได้รับโอนสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร หรือเนื่องจากการนำส่งตามมาตรา 83/5 มาตรา 83/6 และมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำไปเครดิตหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มได้นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน อันเป็นกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อาทิ (1) ภาษีซื้อสำหรับรายจ่ายต้นทุนสินค้าที่ขาย หรือบริการ อันเป็นกิจการที่ข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (2) ภาษีซื้อสำหรับรายจ่ายค่าก่อสร้างอาคาร โรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้สำนักงาน ตลอดจนทรัพย์สินอื่นที่ใช้ในกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) ภาษีซื้อสำหรับรายจ่ายในการส่งเสริมการขาย เช่น ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมตัวแทนจำหน่ายสินค้าและผู้สนใจทั่วไปตามโรงแรม ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อันเป็นการส่งเสริมการขาย เช่น ค่าเช่าห้องประชุม ค่าอาหารว่าง ค่าเดินทาง ค่าที่พัก (โรงแรม) ของผู้เข้าประชุม ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อรถยนต์นั่งมาเป็นรางวัลในการชิงโชค ภาษีซื้อจากการให้บริการนำเที่ยวแก่ลูกค้า หากลูกค้ารายใดซื้อสินค้าครบตามเกณฑ์ที่กำหนด (4) ภาษีซื้อสำหรับรายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน เช่น ภาษีซื้อค่าน้ำ เครื่องดื่ม กระดาษทิชชู ค่าแบบฟอร์มพนักงาน ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬาของพนักงาน ค่าห้องพักโรงแรมในการที่พนักงานไปทำงานต่างจังหวัดชั่วคราว (5) ภาษีซื้อสำหรับรายจ่ายทั่วไปในการประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (6) ภาษีซื้อสำหรับกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. ต้องเป็นภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร และเป็น ใบกำกับภาษีต้นฉบับ เว้นแต่สำเนาใบกำกับภาษีในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ใบกำกับภาษีที่จัดทำในลักษณะเป็นเอกสารออกเป็นชุด ซึ่งออกร่วมกับเอกสารทางการค้าอื่น และใบกำกับภาษีไม่ใช่เอกสารฉบับแรก (2) ใบแทนใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร (3) ภาพถ่ายใบเสร็จรับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกให้โดยกรมศุลกากร ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำต้นฉบับไปใช้ในการขอคืนอากรขาเข้า หรือเงินชดเชยจากกรมศุลกากร 3. ต้องเป็นภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน สามารถแสดงได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อตามใบกำกับภาษี หรือใบเพิ่มหนี้ดังกล่าวไปจริง 4. ต้องเป็นภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่มีรายการครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีรายการแก้ไข หรือภาษีซื้อตามใบเพิ่มหนี้ ที่มีรายการครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร 5. ต้องเป็นภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป หรือใบเพิ่มหนี้ที่ออกโดยผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีหรือผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือภาษีซื้อตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรหรือกรมศุลกากรในกรณีรับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำส่งตามมาตรา 83/6 หรือมาตรา 83/7 หรือได้นำเข้าตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร รวมทั้งผู้ทอดตลาดที่ได้ขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน 6. ต้องมิใช่ภาษีซื้อที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นเครดิตตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องเป็นภาษีซื้อตั้งแต่วันที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้นไป กรณีบริษัทฯ ก่อสร้างโรงแรม 2 แห่ง แล้วเกิดน้ำท่วมทำให้โรงแรมพังลง 1 แห่ง ไม่สามารถต่อเติมหรือก่อสร้างอะไรเพิ่มเติมได้อีก และในปี 2556 บริษัทฯ ได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างโรงแรมส่วนที่พังลงนั้นไม่สามารถขอคืนภาษีได้ นั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างโรงแรมเป็นภาษีซึ้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมุลค่าเพิ่ม บริษัทฯ มีสิทธิที่จะนำมาใช้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร หากว่าภาษีซื้อนั้น ไม่เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร อาทิ เป็นภาษีสำหรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว รายการในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข และมีคุณลักษณะครบถ้วนตามที่ได้ยกมาให้ดูดังกล่าวข้างต้น CR. facebook อาจารย์สุเทพ ครับ


ผู้ตั้งกระทู้ สนธิ :: วันที่ลงประกาศ 2014-10-07 01:46:45


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล